Questionnaire Design + Data Collection Procedure
1. Identify and clarify all related variables
ทำความเข้าใจกับ Research Framework และ Variables ระบุ Context ที่จะใช้ในงานวิจัย กำหนดนิยามของตัวแปรที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนหา Measurement Items จาก previous research
2. Your questionnaire can have two set of measurement items for one variable
ควรมีการการเลือก Measurement items มากกว่า 1 ชุด (>1 paper) สำหรับ 1 variable เผื่อไว้ในการทำวิจัย หากมีการวิเคราะห์ที่ได้ผลต่างจาก Hypotheses หรืออาจนำไปใช้ในการวิจัยต่อยอด
3. Three parts of questionnaire are instruction, general information, and main section
แบบสอบถามประกอบด้วยอย่างน้อย 3 ส่วน
ส่วนคำชี้แจง ต้อง ระบุวัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลของผู้ทำวิจัย เช่น เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านต่างๆ ทั้งนี้ ควรระบุด้วยว่าไม่มีคำตอบถูกผิด ในแบบสอบถามนี้ จากนั้นจึงระบุคำนิยามของคำศัพท์สำคัญที่ใช้ในแบบสอบถาม รวมทั้งระบุส่วนประกอบของแบบสอบถามว่ามีกี่ส่วน กรณีที่เป็นการทำ Experiment ควรต้องระบุขั้นตอนที่ผู้เข้าร่วมจะเจอ ร่วมทั้งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ ของแต่ละขั้นตอน
ส่วนของข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล Demographic ของผู้ตอบแบบสอบถาม และพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนของข้อมูลหลัก ซึ่งประกอบด้วย measurement items ของตัวแปรต่างๆที่เราต้องการศึกษา
4. Customize questions and choice to respondents and cover all possibility
5. Specify number and variable abbreviation on each question to ease data entering and analysis
เพื่อเป็นการสะดวกในการคีย์ข้อมูล ควรต้องระบุเลขข้อ รวมถึงข้อย่อย และวงเล็บชื่อตัวแปรอย่างย่อ ในทุกคำถามด้วย นอกจากนี้ ในส่วนของข้อมูลหลัก อาจต้องเพิ่ม citation หรือสัญลักษณ์ ของ measurement items เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีที่มีการเลือก measurement items สำหรับ 1 ตัวแปรมามากกว่า 1 ชุด
6. Put the main section questions with key variables before the general questions section
การเลือกคำถามทั้งในส่วนของข้อมูลเบื้องต้น และส่วนของข้อมูลหลัก อาจเพิ่มคำถามของตัวแปรที่มีความใกล้เคียงกัน เผื่อนำมาต่อยอดในงานวิจัยอื่นได้ รวมทั้ง เวลาเรียงลำดับคำถาม ควรเริ่มต้นด้วยคำถามส่วนหลัก ซึ่ง ประกอบด้วย measurement items ของตัวแปรทุกตัวใน research framework ก่อนส่วนของคำถามเบื้องต้น เนื่องจาก ผู้ตอบแบบสอบถาม จะสนใจคำถามแค่ในช่วงระยะเวลาอันสั้น หลังจากเริ่มทำแบบสอบถาม
7. Scales consistency
5-point scale หรือ 7-point scale ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องอ้างอิงจาก previous research ที่สนับสนุนแนวทางนั้นๆ
สำหรับคนไทย อาจจะควรใช้ even point Scale เนื่องจากมีพฤติกรรมการตอบคำถามที่เป็น Neutral ซึ่งในบางงานวิจัย อาจต้องมีการลบsample ที่ตอบค่า neutral ไป เพื่อความชัดเจนในการวิเคราะห์ข้อมูล
8. Validate questions with back translation
9. Pretest your questionnaire
10. Explain the questionnaire instruction and debrief
นัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการขอเข้าเก็บข้อมูล อธิบายการตอบแบบสอบถาม ในแต่ละ Part Debrief ตอนสิ้นสุดการตอบคำถาม เตรียม Consent Form ให้ผู้ตอบแบบสอบถาม